ผู้เยี่ยมชม

Website counter

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556


                                     ขั้นตอนการทำ Gadget  ช่องค้นหา 


1.เปิดบล็อกเกอร์ของตัวเองขึ้นมา
2.เลือกคลิกไปที่คำว่า รูปแบบ
3.จะเห็นคำว่า เพิ่ม  Gadget   แล้วให้เราเลือกเอา  Gadget ที่เราต้อง
การเพิ่ม
4. คลิกเลือก เพิ่ม  Gadget  ก็จะเปิดหน้าต่างขึ้นมาให้เลือก หลายอย่าง ตามความต้องการของเรา
5.จากนั้นเลือก ช่องค้นหา 







6.ช่องค้นหาก็จะปรากฎช่องทั้ง4ช่องให้เราเห็น จะมีช่องให้เราคลิก เราก็เลือกคลิกทั้ง 4 ช่อง
7. จากนั้นกดตกลง
8.จากนั้นกดคำว่า ดูบล็อก ช่องค้นหาก็จะปรากฎบนบล็อกของเรา ตามที่เราเลือกไว้

ประโยชน์ในการเพิ่มช่องค้นหา คือ

ให้ผู้เข้าชมสามารถค้นหาบล็อก การลิงก์ไปยังบล็อกอื่น และทุกสิ่งที่คุณได้ลิงก์ไป  โดยไม่ต้องเลื่อนลงหาให้เสียเวลา  ถ้าเราพิมข้อความที่ต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา   แล้วกดตกลง  ข้อมูลหรือข้อความที่เราต้องการหาก็จะปรากฎขึ้นทันที

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  1

1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ   เทคโนโลยี หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม 
 สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข่าวสารที่ได้จากการนำข้อมูลดิบ (Raw Data) มาคำนวณทางสถิติหรือประมวลผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึงข่าวสารที่ได้ออกมานั้นจะอยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้งานได้ทันที

2.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ    ข้อมูล (Data) มีความหมายแตกต่างจากสารสนเทศ (Information) หรือสารสนเทศ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความคำว่า ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือ หรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริ สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริง หรือการคำนวณข้อมูลจึงมักมีความหมายในลักษณะที่เป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์การกระทำหรือลักษณะต่างๆ ของวัตถุ สิ่งของ คนสัตว์หรือพืชแล้วบันทึกไว้เป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพ หรือเสียง

 3.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ     มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่ โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้านตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับมนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหารสิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอ ฯแจนเกิดเป็นการค้าขายระหว่างหมู่บ้าน ตำบล เมือง และประเทศขึ้น  การติดต่อในยุคแรกๆ เป็นการบอกกันปากต่อปาก ต่อมามีการสื่อสสารกันด้วยตัวอักษรที่จารึกบนวัสดุต่างๆ ซึ่งกลายมาเป็นการส่งจดหมายถึงกัน จากนั้นมีการสื่อสารกันด้วยวิธีการหลากหลายและมีความรวดเร็วมากขึ้นทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งอาศัยหลักวิชาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนคำพูด ข้อความหรือภาพ เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายหรือเปลี่ยนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เรียกว่า คลื่นวิทยุกระจายไปในอากาศ  เมื่อถึงปลายทางสัญญาณหรือคลื่นที่ส่งไปนั้นจะถูกคืนสภาพให้กลับเป็นคำพูดข้อความหรือภาพเหมือนกับสิ่งที่ส่งออกไปจากต้นทาง

4.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่ออย่างไร
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี 2 ด้าน คือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น… – - – … การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา

5.ระบบปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial  Intelligence : AI ) หมายถึงอะไร และมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร  
ตอบ  AI : Artificial Intelligenceระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียน แบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการ
ส่วนประกอบที่สำคัญคือ
องค์ประกอบที่สำคัญของ ES ได้แก่ (Stairs & Reynolds, 1999)
1) ฐานความรู้ (Knowledge base) ซึ่งเก็บรวบรวมกฎเกณฑ์ต่างๆ (rules) ที่เกี่ยวข้องกับความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน กฎเกณฑ์นี้จะช่วยให้ ES สามารถให้ข้อสรุปในเรื่องที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ใช้
2) โปรแกรมที่จะนำฐานความรู้ไปใช้เพื่อพิจารณาเสนอแนะแก้ปัญหาหรือโครงสร้างการตัดสินใจ (Inference engine) โดย Inference engine จะทำหน้าที่ในการจัดระบบและควบคุมกฎเกณฑ์ โดยจะให้เหตุผลต่างๆ เพื่อจะนำไปสู่ข้อสรุปหรือ ข้อเสนอแนะแก่ผู้ใช้
3) อุปกรณ์ช่วยในการอธิบาย (Explanation facility) อุปกรณ์ช่วยในการอธิบายช่วยทำให้ผู้ใช้เข้าใจกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจ
4) อุปกรณ์ในการหาความรู้ (Knowledge acquisition facility) เป็นอุปกรณ์ในการรวบรวมและเก็บความรู้ที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ
5) การเชื่อมโยงกับผู้ใช้ (User interface) เป็นการทำให้การพัฒนาและการใช้ ES ทำได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปช่วยในการสร้าง ES โดยใช้รูปภาพที่ผู้ใช้ต้องการ (เช่น จะใช้เมนูฟอร์ม)


6.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
   ตอบ       ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
            -   เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
            -   เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
            -   เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
           -   เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1.            ความเร็ว  การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้จะช่วยให้การทำงานมีความรวดเร็วยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การค้นหาข้อมูลจะทำได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูล เช่น การใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
2.            ความถูกต้อง คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ ทำให้ข้อมูลที่ได้จากการประมวลนั้นมีความผิดพลาดน้อยกว่าการประมวลผลด้วย มนุษย์
3.            การเก็บบันทึกข้อมูล ข้อมูลที่เก็บบันทึกในระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีสื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลทำให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและมีความคงทนถาวรมากกว่าการจัดเก็บข้อมูลในรูปของกระดาษ
4.            การเผยแพร่ข้อมูล การรับส่งข้อมูลในปัจจุบันโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้การเผยแพร่ข้อมูล ทำได้อย่างกว้างขวางสามารถแพร่กระจายไปได้ทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน

7.  สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะะอย่างไร
ตอบ ควรมีลักษณะดังนี้ 
1. ด้านเนื้อหา ( Content)
    -     ความสมบูรณ์ครอบคลุม  ( Completeness )
    -      ความสัมพันธ์กับเรื่อง  (Relevance )
     -      ความถูกต้อง  ( Accuracy )
     -      ความเชื่อถือได้  ( Reliability )
     -       การตรวจสอบได้  ( Verifiability )
ด้านรูปแบบ  ( Fomat )
   -     ชัดเจน (Clarity )
   -      ระดับรายละเอียด ( Level  of  Detail )
   -      สื่อการนำเสนอ  ( Media )
   -       ความยืดหยุ่น   ( Flexibility )

ด้านประสิทธิภาพ  ( Efficiency )
  -  ประหยัด ( Economy )
  -   เวลา (  Time)
  -   ความรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์  ( Timely)
  -    การปรับปรุงให้ทันสมัย  ( Up – to- Date )
   -    มีระยะเวลา  ( Time  Period)
ด้านกระบวนการ  ( Pocess)
  -  ความสามารถในการเข้าถึง ( Accessiblity)
  - การมีส่วนร่วม  ( Participation)
  - การเชื่อมโยง  ( Connectivity )


8. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ   เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร ล้วนเป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังใช้เทคโนโลยีเครื่องมือหรือกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ATM : Automatic Teller/Technology Machine) การสแกนลายนิ้วมือการเข้าปฏิบัติงานในสำนักงาน การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เป็นต้น

9. จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ    กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ ความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุค ก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น  มีการนำ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น   การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่างๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถานที่ เช่น การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่างๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล ฟังเพลง รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน




10. จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ   ประโยชน์ คือ
   - ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
   -  ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
   -  การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
    -  สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
     - สนับสนุนการทำงานและกระบวนการผลิต  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผนการออกแบบและการควบคุมระบบการทำงาน
    - ส่งเสริมระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการหน่วยงานหรือองค์กร
    - กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
    - สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย เช่น การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล  เป็นต้น
    - ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
โทษ คือ
  -  มีการก่ออาชญากรรมด้านคอมพิวเตอร์มากขึ้น  ผู้คนบนโลก Cyber ขาดจริยธรรม  และความมีน้ำใจของผู้คนก็อาจลดลงในขณะที่ความเห็นแก่ตัวมีมากขึ้น
  -  คนถูกลดความสามารถลง    และมีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เข้ามาทำงานแทนที่   ลดอัตราการจ้างงานเนื่องจากเจ้าของกิจการลงทุนในเครื่องจักรแทนการทำงานด้วยคน                                 
 ผลกระทบด้านจิตใจ    จะมีความรู้สึกโดดเดี่ยวและขาดมนุษย์สัมพันธ์มากขึ้น

 - ผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัย    ถ้าใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมงอาจทำให้เกิดความตึงเครียดต่อร่างกาย   การนั่งทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ   ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  เช่น  หลัง   สายตา  เท้า  ข้อมือ  จังหวะการเต้นของหัวใจ  


------------------------------------------------------------------------------------------------------------


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  2

1. คำว่า "ระบบ" และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ   ระบบ (System) หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อย ๆ อย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของ แต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอน ระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท วิธีการเชิง    ระบบ (System Approach) วิธีเชิงระบบหรือวิธีระบบคือคำๆเดียวกัน เป็นกระบวนการคิดหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้าน ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร

ตอบ   วิธีระบบมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
1) ปัจจัยนำเข้า (Input) หมายถึง วัตถุสิ่งของต่างๆ รวมถึงเหตุการณ์ สถานการณ์ วัตถุประสงค์ ปัญหา ความต้องการ ข้อกำหนด กฎเกณฑ์ อันเป็นต้นเหตุของประเด็นปัญหา
2) กระบวนการ (Process) หมายถึง วิธีการ ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาและปัจจัยนำเข้าให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือ ความต้องการ
3) ผลลัพธ์ (Output) หมายถึง ผลงานที่ได้จากกระบวนการจัดการวัตถุดิบหรือปัจจัยนำเข้า ผลงานที่ได้รับอาจจะเป็นวิธีการหรือชิ้นงานก็ได้ ซึ่งสามารถประเมินผล และตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ได้ 

3.ระบบสารสนเทศหมายถึงอะไร

ตอบ   คือ การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลใน รูปของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนการบริหาร และการตัดสินใจ ทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับกลาง และระดับสูง ระบบสารสนเทศจึงเป็นระบบที่จัดตั้งขึ้น เพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ  ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ     มีองค์ประกอบหลัก 2  ส่วน ได้แก่ ระบบการคิด  และระบบของเครื่องมือ

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร

ตอบ      -  ด้านจุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา มี 4 ประการ ได้แก่ ข้อมูล (Data)  สารสนเทศ (Information)  ความรู้ (Knowledge)  ปัญญา (Wisdom) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
             -  ด้านขั้นตอน ในการดำเนินงานมี 3 ประการ คือ ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลลัพธ์ (Output) การทำงานจะเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนข้อมูลดิบที่เข้ามาสู่การคำนวณประมวลผล หรือการกลั่นกรองจนได้ชิ้นงานหรือผลลัพธ์(output) และจัดเก็บเพื่อนำออกมา เผยแพร่ในลักษณะของสารสนเทศต่อไป
               -  องค์ประกอบระบบสารสนเทศทั่วไป (Information Process Systems) ประกอบ ด้วย 5องค์ประกอบดังนี้ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(hardware) ข้อมูล(data) สารสนเทศ (information) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์(software) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์ (people ware)


6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร

ตอบ    การจัดระบบสารสนเทศเป็นการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพของงานสารสนเทศ โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูล  วิธีการ ทรัพยากร เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
           ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) วิธีการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ  แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อยคือ
         1) วิธีวิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติงาน (Mission Analysis) คือ การพิจารณาทิศทางในการดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบสารสนเทศ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้  ผู้วิเคราะห์ต้องรู้ถึงองค์ประกอบของกระบวนการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ โดยกำหนดจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติงานอย่างกว้าง ๆ ให้ครอบคลุมสภาพปัญหาไปสู่สภาพที่พึงประสงค์ เพื่อเป็นเกณฑ์ว่างานนั้นสำเร็จดีหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรค ข้อบกพร่องหรือไม่อย่างไร
          
            2) วิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารสนเทศ
            3) วิเคราะห์งาน (Task Analysis) เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้ในขั้น การวิเคราะห์หน้าที่ การวิเคราะห์หน้าที่และงานเป็นสิ่งขยายขั้นการวิเคราะห์
            4) วิเคราะห์วิธีการและสื่อ (Method-Means Analysis) เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติ กลวิธี และสื่อที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ต้องการ
ขั้นที่ 2 การสังเคราะห์ระบบ (System Synthesis) วิธีการสังเคราะห์ระบบช่วยเกลี่ยน้ำหนักเนื้อหาหรือภาระงานของขั้นตอนต่าง ๆ ให้มีความสมดุลในการแก้ปัญหาซึ่งมีขั้นตอนย่อยดังนี้     1) การเลือกวิธีการหรือกลวิธี เพื่อหาช่องทางไปสู่จุดมุ่งหมายแล้วทดสอบและทดลองกลวิธี  เพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมกับสารสนเทศที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้
2) ดำเนินการแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเลือกกลวิธีที่เหมาะสมที่วางแผนแล้วก่อนใช้กลวิธีนั้นดำเนินการแก้ปัญหา
3) ประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยการแก้ปัญหาแล้วประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้
ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง (Construct a Model) แบบจำลองเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดออกมาเป็นภาพที่มองเห็นได้อย่าง ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นภาพลายเส้น หรือรูปสามมิติ แบบจำลองระบบทำให้เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบ และขั้นตอนในการดำเนินงาน สามารถตรวจสอบหรือทำนายผลที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะนำระบบไปใช้จริง  ระบบการทำงานแม้จะมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน แต่อาจจะมีแบบจำลองระบบไม่เหมือนกัน



7. ระบบสารสนเทศระดับบุคคล  ระดับกลุ่ม  กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ   1.  สารสนเทศระดับบุคคล คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน ทำให้การทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ้งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
2.    สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลทีมีจุดมุ่งหมายในการทำงานอย่างเดียวกัน ซึ่งจะส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน
3.    สารสนเทศระดับองค์กร คือ สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กรซึ่งจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในหลายฝ่าย จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่ม เข้าด้วยกัน


8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร

ตอบ  ข้อมูล คือข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นเป็นประจักษ์สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าทั้งที่สามารถนับได้และนับไม่ได้ มีลักษณะเป็นวัตถุสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์  ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และต้องเป็นสิ่งมีความหมายในตัวมันเองซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของ รูปภาพ แสง สี เสียง  รส
   - ความรู้  ( Knowledge) คือ เป็นภาวะทางสติปัญญามนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน อาจอยู่ในรูปของข้อมูลดิบหรือสารสนเทศต่างๆหรืออาจอยู่ในรูปของอารมณ์ความรู้สึกและเหตุผล


9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร

ตอบ   1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
           2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย
          
  3. การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
          
      4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย


10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน

ตอบ     -  ระบบเครือข่ายเฉพาะที่(LAN)
คือ เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายขนาดเล็กในพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก เช่น ภายในห้อง หรือภายในตัวอาคาร 
ระบบเครือข่ายระหว่างเมือง(MAN)
คือ เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นกว่า LAN มักเกิดจากการเเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ในบริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อระบบระหว่างองค์กรกับองค์กรที่อยู่ 

-ระบบเครือข่ายระยะไกล (WAN)
เป็นเครือข่ายบริเวณกว้าง ซึ่งอาจมีขอบเขตการเชื่อมต่อที่กว้างไกลขึ้นจาก LAN และ MAN ซึ่งเมื่อเชื่อมต่อแล้วจะก่อให้เกิดเป็นระบบเครือข่ายในระดับจังหวัด ประเทศ หรือข้ามทวีปได้ 




------------------------------------------------------------------------------------------------------------



คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  3

1. คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ  รวมทั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตด้วยลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมมือที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้อย่างกว้างขวาง 
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ คือ 
1. มีความเร็วในการทำงานสูง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานในปัจจุบันสามารถประมวลผลคำสั่งในช่วงเวลา 1 วินาที ได้มากกว่าหนึ่งร้อยล้านคำสั่งจึงใช้ในงานคำนวณต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เช่น  การฝาก – ถอนเงินจากตู้ ATM เป็นต้น
2. ,ประสิทภาพในการทำงานสูง สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสัปดาห์ หรือเป็นปี โอกาสเครื่องเสียน้อยมาก ใช้แทนกำลังคนได้มากมาย
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน



2. คอมพิวเตอร์มีหน้าที่มาอย่างไร

ตอบ    1. รับข้อมูลเข้า (Input Device)เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุท ใช้สำหรับในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น เม้าส์ คีย์บอร์ด โมเด็ม จอยสติ๊ก เป็นต้น
            2. เก็บข้อมูล (Storage Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และเป็นเครื่องช่วยในการบันทึกข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟลอปปีดิสก์ เทปไดรฟ์ ซีดีรอมไดรฟ์, zip disk, MO, PD, DVD เป็นต้น
            3. ประมวลผล (Processing Device) อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูล คือ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ๆ กับ "สมอง" สำหรับ CPU ที่หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อมาแล้ว เช่น Intel, ADM, Cyrix เป็นต้น
            4. แสดงผลลัพธ์ (Output Device)หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์เอ้าต์พุต ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมา เช่น แสดงบนจอภาพ หรือพิมพ์สู่กระดาษ รวมทั้งเสียงที่ขับออกมาจากลำโพง เป็นต้น

3. ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ    ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
จำแนกหน้าที่ของฮาร์ดแวร์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็นส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ
1) หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับโปรแกรมคำสั่ง และข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
2) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit – CPU) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
3) หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้มาจากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4) หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว
5) อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment) เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น


4. ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร

ตอบ  หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด เช่น การตรวจสอบข้อมูลประชาชนจากระบบทะเบียนราษฎร์ ของสำนักทะเบียนราษฎร์ กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล  ระบบเสียภาษี  ระบบทะเบียนการค้า ระบบทะเบียนประวัติอาชญากรรม ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถ้าต้องการทราบข้อมูลต่างๆเหล่านี้ สมารถตรวจสอบได้โดยการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ส่วนประกอบที่สำคัญ 4 ส่วน  ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware ) หรือส่วนเครื่อง
2.ซอฟต์แวร์ ( Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3. ข้อมูล( Data )
4. บุคลากร  ( People )


5. ฮาร์ดแวร์  หมายถึงอะไร  ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ  ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ จะประกอบด้วยด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล ( Processor )
2.ส่วนความจำ ( Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก ( Input-Output Devices )
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (  Storage  Device)




6. ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์  เปรียบเหมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์

ตอบ  หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing  Unit ) หรือเรียกคำย่อว่า ซีพียู CPU คำว่าซีพียู มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่างด้วยกันคือ
1. ตัวชิป ( Chip) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรือกล่องเครื่องที่มีซีพียูบรรจุอยู่
ความหมายส่วนที่ 2 ถ้ามองทางด้านเทคนิคแล้วจะเป็นความหมายที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากตัวซีพียูเป็นชิปคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เหมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์

7. หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม  (RAM ) และแบบรอม (ROM ) ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   - แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไป ทันที
  -   รอม (Read Only Memory – ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้ และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป



8. จานบันทึกข้อมูล ( Hard  Disk) ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร

ตอบ  ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กตั้งแต่หนึ่งแผ่นจนถึงหลายแผ่น และเครื่องขับจาน ( Hard  Disk Drive) เป็นส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง  มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนผิวของแผ่นดังกล่าว ตามคำสั่งของโปรแกรมหรือผู้ปฎิบัติงานต้องการ โดยหัวอ่านและเขียนไม่ได้สัมผัสแผ่นโดยตรงแต่เคลื่อนที่ผ่านแผ่นไปเท่านั้นส่วนการบันทึกข้อมูลได้จำนวนมากเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องและรุ่นที่ใช้ปัจจุบันสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ขนาด 500 เมกะไบต์   ( Megabyte) จนถึง 80 Gigabyte กิกะไบต์  หรือมากกว่านั้น

9. บอกความหมายของคำต่อไปนี้ เมกะไบต์  ( Megabyte)กิกะไบต์ ( Gigabit) พิกเซล ( Pixel) 

 กิกะเฮิร์ซ( GHz )
ตอบ    MB ย่อมาจาก megabyte (เมกะไบต์) คือ หน่วยความจุในการเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ มีค่าเท่ากับหนึ่งล้านไบต์ (อย่าสับสนกับ Mb ซึ่งใช้แทนเมกะบิต) ซึ่งบอกถึงปริมาณหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถเก็บตัวอักษรได้ 1 ล้านตัว หรือมีค่าเท่ากับ 2 ยกกำลัง 20 = 1,048,567 BYTES หรือเท่ากับ 1024 กิโลไบต์นิยมเรียกสั้นๆว่า เม็ก หรือ meg โดย 8 บิต (Bit ) = 1 ไบต์ (Bite) จริง ๆแล้ว 1 เมกะไบต์จะเท่ากับ 1,024 กิโลไบต์ หรือเท่ากับ 1,048,576 ไบต์ คิดคร่าว ๆ เท่ากับ 1ล้านไบต์ (กฎหมายของอเมริกามีกำหนดไว้ชัดเจนว่า 1 เมกะไบต์ เท่ากับ 1 ล้านไบต์เท่านั้น)
 "gigabyte" อ่านว่า "กิกะไบต์" ใช้ตัวย่อว่า GB เป็นหน่วยวัดความจุข้อมูล 1 GB เท่ากับหนึ่งพันล้านไบต์ (หรือ 230 หรือ 10243 หรือ หนึ่งพันล้านตัวอักขระ ใช้เป็นหน่วยวัดความจุของหน่วยความจำ จานบันทึก หรือ ฮาร์ดดิสก์ ฯ) คำว่า "giga" มีค่าเท่ากับ "พันล้าน"

          ส่วนคำว่า "ไบต์" เป็นหน่วยความจำของตัวเลขฐานสองเท่ากับ 8 บิต โดยที่บิต (bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอล โดยข้อมูลหนึ่งบิตมีสถานะที่เป็นไปได้ 2 สถานะ คือ 0 (ปิด) และ 1 (เปิด) โดยย่อจากคำเต็มคือ binary digit (หรือ binary unit)

 Pixel มาจาคำว่า picture (ภาพ) กับคำว่า Element (พื้นฐาน) คือ หน่วยพื้นฐานซึ่งเล็กที่สุดของภาพดิจิตอล เทียบได้กับจุดสีของภาพ 1 จุด หลากหลายสี หลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันถูกรวมกันทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง  แต่ 1 Pixel จะเป็นสีหนึ่งสีใดเพียงสีเดียวเท่านั้นจะมีสีอื่นไม่ได้ เนื่องจากว่าเป็นส่วนที่เล็กที่สุดของการแสดงผลพิกเซลนั้นมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟฟิกของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกๆส่วนของกราฟฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเกิดจากพิกเซลทั้งสิ้น อย่างกล้องถ่ายรูปความละเอียด 5 ล้านพิกเซล นั้นหมายความว่าเมื่อถ่ายภาพที่ความละเอียดสูงสุด (ที่กล้องสามารถจะถ่ายได้) จะได้เม็ด Pixel 5 ล้านเม็ด ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ง่ายๆว่า ยิ่งมีค่าพิกเซลสูงเท่าไหร่ภาพที่ได้ยิ่งมีความละเอียดสูงด้วย
      gigahertz (กิกะเฮิร์ตซ์) ตัวย่อ GHz เป็นหน่วยของความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM) เท่ากับหนึ่งพันล้านเฮิร์ตซ์ (1,000,000,000 Hz) gigahertz ได้รับการใช้เป็น
ตัวชี้ความถี่ของ ultra-high-frequency (UHF) และสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไมโครเวฟ 
(microwave) และรวมถึงในบางคอมพิวเตอร์ ใช้แสดงความเร็วนาฬิกาของไมโครโพรเซสเซอร์

10. จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาส์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์

ตอบ   จอภาพ ( Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการประมวลผลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแสดงได้ทั้งตัวหนังสือ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยทั่วไปนิยมใช้จอภาพสี สามารถแสดงระดับความแตกต่างของสีตั้งแต่  16,256,65,536 และ 16,177,216  สีความละเอียดของภาพที่เรียกว่า พิกเซล Pixel  
แป้นพิมพ์  (  Key  Board ) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถรับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์ส่งต่อไปให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์  แป้นพิมพ์ทิ่นิยมใช้จะมี 101 แป้น และแยกแป้นอักขระและตัวเลขออกจากกัน  ส่วนบนจะเป็นแป้นคำสั่งพิเศษเพื่อให้ใช้งานได้สะดวกขึ้น 
เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณืที่มีลักษณะคล้ายตัวหนู ส่วนของสายสัญญาณตัวอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายส่วนหางหนู  เราใช้เมาส์ในการควบคุมตัวชี้ ( POINTER ) ที่ปรากฏบนจอภาพให้สามารถเลื่อนไปสู่ตำแหน่งต่างๆที่ต้องการได้โดยง่ายสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมในการควบคุมคำสั่งก็ได้ จะมีปุ่มควบคุม 2 ปุ่มด้วยกันโดยทำหน้าที่แตกต่างกันดังนี้
1. ปุ่มซ้ายมือถ้ากดหนึ่งครั้งหมายถึงการเลือกและถ้ากดสองครั้งติดต่อกันหมายถึงสั่งให้โปรแกรมหรือสั่งรูปที่เลือกเศษทำงาน
2.  ปุ่มขวามือถ้ากดให้แสดงฟังชันก์พิเศษโดยตัวชี้เป็นตัวเลือกฟังชันก์ที่ต้องการได้






-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------





คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่  4

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร  และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ (Software)  ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้

2. ซอฟต์แวร์ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ  ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
     1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
     2)   ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)





3. ซอฟต์แวร์ ระบบคืออะไร

ตอบ   หมายถึง โปรแกรมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงานดังนี้
คือ โปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ควบคุมหน่วยความจำ ควบคุมหน่วยประมวลผล ควบคุมหน่วยรับและควบคุมหน่วยแสดงผล ตลอดจนแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงที่สุด และสามารถใช้อุปกรณ์ทุกสาวนของคอมพิวเตอร์และช่วยจัดการกระบวนการพื้นฐานที่สำคัญ ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นการเปิด หรือปิดไฟล์ การสื่อสารกันระหว่างชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง การส่งข้อมูลออกสู่เครื่องพิมพ์หรือสู่จอภาพ เป็นต้น ก่อนที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ หรือสามารถใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้จะต้องผ่านการดึงระบบปฏิบัติการออกมาฝังตัวอยู่ในหน่าวความจำก่อน ปัจจุบันนี้มีโปรแกรมระบบบอยู่หลายตัวด้วยกันซึ่งแต่ละตัวนั้นก็เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ลักษณะการทำงานจะไม่เหมือนกัน



4. ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร

ตอบ  หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ


5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร

ตอบ   การประยุกต์ ใช้งานด้วย ซอฟต์แวร์สำเร็จ มักจะเน้น การใช้งานทั่วไป แต่อาจจะนำมาประยุกต์ โดยตรงกับงาน ทางธุรกิจบาง อย่างไม่ได้ เช่น ในกิจการธนาคาร มีการฝากถอนเงิน งานทางด้านบัญชี หรือใน ห้างสรรพสินค้า ก็มีงาน การขายสินค้า การออกใบเสร็จรับเงิน การควบคุม สินค้าคงคลัง ดังนั้น จึงต้องมีการ พัฒนาซอฟต์แวร์ ใช้งานเฉพาะ สำหรับงาน แต่ละประเภท ให้ตรงกับ ความต้องการ ของผู้ใช้แต่ละราย ซอฟต์แวร์ ใช้งานเฉพาะ มักเป็นซอฟต์แวร์ ที่ผู้พัฒนา ต้องเข้าไป ศึกษารูปแบบ การทำงาน หรือความต้องการ ของธุรกิจนั้นๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็น ซอฟต์แวร์ ที่มีหลาย ส่วนรวมกัน เพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ ใช้งานเฉพาะที่ใช้กัน ในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานใน โรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ ความต้องการ ของการใช้ คอมพิวเตอร์ ในงานทางธุรกิจ ยังมีอีกมาก ดังนั้นจึง ยังมีความต้องการ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ ใช้งานเฉพาะต่างๆ อีกมากมาย

6.ซอฟต์แวร์ มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร

ตอบ   ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรม ที่ใช้ สั่งงานให้ คอมพิวเตอร์ ทำงาน หรือ หมายถึง ลำดับ ขั้นตอน การทำงาน ที่เขียน ขึ้นด้วย คำสั่งของ คอมพิวเตอร์ คำสั่ง เหล่านี้เรียงกัน เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ มากมาย เพราะมีผู้พัฒนา โปรแกรม คอมพิวเตอร์ มาสั่งงาน คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ จึงเป็น ส่วนสำคัญ ของระบบ คอมพิวเตอร์ หากขาด ซอฟต์แวร์ คอมพิวเตอร์ ก็ไม่สามารถ ทำงานได้



7.ซอฟต์แวร์ และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ตอบ   ถ้ามนุษย์ ต้องการ ถ่ายทอด ความต้องการให้ คอมพิวเตอร์ รับรู้ และปฏิบัติตาม จะต้องมี สื่อกลาง สำหรับ การติดต่อ เพื่อให้ คอมพิวเตอร์ รับรู้เราเรียก สื่อกลาง นี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ผู้ออกแบบ คอมพิวเตอร์ ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็น รหัสแทน คำสั่ง ในการสั่งงาน คอมพิวเตอร์ รหัสแทน ข้อมูลและ คำสั่งโดย ใช้ระบบเลข ฐานสอง นี้ คอมพิวเตอร์ สามารถ เข้าใจได้ เราเรียก เลขฐานสอง ที่ประกอบกัน เป็นชุดคำสั่ง และใช้สั่งงาน คอมพิวเตอร์ว่า ภาษาเครื่อง ภาษาเครื่องเป็นภาษา ที่มนุษย์ไม่เข้าใจ จึงมีผู้สร้าง ภาษาคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบที่ เป็นตัวอักษร เป็นประโยค ข้อความ เรียกภาษานี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ ระดับสูงใน การทำงานของ คอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ จะแปลภาษาระดับสูง ให้เป็น ภาษาเครื่อง โดยใช้โปรแกรม คอมไพเลอร์ (compiler) หรือ อินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)


8.ระบบปฎิบัติการคืออะไร  ทำหน้าที่อะไร

ตอบ    ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่นดอส (Disk Operating System : DOS) วินโดวส์ (Windows) โอเอสทู (OS/2) ยูนิกซ์ (UNIX)  ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรม (Software) ที่ทําหน้าที่ ควบคุมการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทําหน้าที่เป็น ตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรงและโปรแกรมการใช์งานต่าง ๆ






-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่   5


1. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client)ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ


2. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีประโยชน์อย่างไร

ตอบ
        1.  การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
        2. การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง file server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
        3. สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) การสืบค้นข้อมูล (search engine) เป็นต้น
       4. สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น
       5. ความประหยัด นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 – 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว    เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
       6. ความเชื่อถือได้ของระบบงาน นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที

3. ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร

ตอบ   การเชื่อมต่อเครือข่ายให้ประโยชน์ในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลเดียวกันทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันมากที่สุด  และยังให้ประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น อุปกรณ์เครื่องพิมพ์ ( Pinter) เครื่องกราดตรวจ                           (  Scanner ) 

4. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร

ตอบ   เนื่องจากระบบนี้เป็นระบบใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อโยงกันทั่วโลกผลประโยชน์และผลกระทบจึงมีกว้างไกลมาก สิ่งที่เรารู้จักและนำมาใช้ประโยชน์ทุกวันนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น  ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องซึ่งจะนำมาซึ่งสิ่งใหม่ๆ อีกมากมาย

5. ระบบเครือข่ายร่วมปฎิบัติการหมายความว่าอย่างไร

ตอบ   เป็นระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน  ขณะที่มีการนำระบบนี้มาใช้ในงานวิจัยเพื่อถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ คอมมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่กระจาอยู่ในประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยได้ และแต่ละเครื่องจะได้ส่วนแบบของงานคำนวณมาทำ  สมรรถนะของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่ายจึงยิ่งกว่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใดๆในโลก ทำให้งานวิจัยสามารถสำเร็จลุล่วงได้ในเพียงไม่กี่ปี แทนที่จะต้องใช้เวลานับสิบๆปี

6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีกี่ประเภทอะไรบ้าง

ตอบ  3 ประเภท ดังนี้
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่  (  LAN   หรือ Local  Aser  Network)
เป็นเครือข่ายที่นิยมใช้ในสำนักงานหรืออาคารเดียวกัน และองค์กรที่อยู่บริเวณเดียวกันหรือใกล้ เป็นเครือข่ายระยะใกล้
2. เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง ( MAN  หรือ Metropolitan  Area  Network )
เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้ที่อยู่ในเขตเมืองเดียวกัน
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง  (  WAN  หรือ Wide  Aser  Network )
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกันในระยะไกล  ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ  ระหว่างประเทศหรือทั่วโลก


7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

ตอบ    2 รูปแบบ ดังนี้ 
1.ฮาร์ดแวร์หรือส่วนเครือข่ายเชิงกายภาพ
2.ซอฟแวร์หรือส่วนการจัดการเชิงตรรกะ



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่   6

1. อินเทอร์เน็ต (Internet ) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   อินเทอร์เน็ต มาจากคำเต็มว่า International  Network  หรือเขียนแบบย่อว่า Internet หมายความว่า เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล  คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน  ในปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากกว่า  60 ล้านเครื่องมาเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน การที่คอมพิวเตอร์แตกต่างกันหลายชนิดจำนวนมากมายทั่วโลกเชื่อมโยงกันได้จะต้องใช้เกณฑ์วิธีหรือโพรโทคอลเดียวกันถึงจะเข้ากัน  และเกณฑ์วิธีที่นำมาใช้กับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีชื่อเรียกว่าทีซีพี/ไอพี  ( TCP/IP)

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง

ตอบ  ด้านการศึกษา มีความสำคัญดังนี้
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3. นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงรียนอื่นๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

  ตอบ   ในการใช้อินเทอร์เน็ตนั้นก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้านด้วยกันสามารถสรุปที่สำคัญได้ดังนี้ 
1. ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าสาร สะดวกและรวดเร็ว
2. ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลก
3. ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบได้
4. สามารถส่งข้อมูลข่าวสารได้หลายรูปแบบ
5. ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกมส์  เป็นต้น
6. ใช้สื่อสารด้วยข้อความ  ซึ่งเป็นการพูดคุยกันระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ
7. ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

4. การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem  หมายความว่าอย่างไร                      

ตอบ    การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์โมเดม (Modem) โมเด็ม คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคู่สายโทรศัพท์ โดยการแปลงสัญญาณดิจิตอลของคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก แล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์  และเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ อีกครั้ง 

5. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  www มีประโยชน์อย่างไร

ตอบ   การให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ  (world wide wed ) หรือ   www เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก   ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านั้น สามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสาร  รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย

6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E- Mail

ตอบ  การให้บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic  Mail หรือ  E-mail)เป็นบริการรับ-ส่งจดหมายจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  หรืออีเมล์  ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังผู้รับไม่ว่าอยู่ที่ใดในโลก  อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที จดหมายที่ส่งจะเป็นข้อมูล เอกสาร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ก็ได้




------------------------------------------------------------------------------------------------------------





คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่   7

1. จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆ ว่ามีกี่ประเภท
ตอบ     มี 4 ประเภท   ดังนี้ 
 1.1 อินทราเน็ต  ( Intranet)
1.2 เอกซ์ทราเน็ต  ( Extranet)
1.3 อินเทอร์เน็ต  ( Internet)
1.4 รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ

2. อินทราเน็ต ( Intranet ) หมายความว่าอย่างไร

ตอบ    อินทราเน็ต  (Intranet) คือ ระบบเครือข่ายภายในองค์กร เป็นบริการ และการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหมือนกันอินเทอร์เน็ต แต่จะเปิดให้ใช้เฉพาะสมาชิกในองค์กรเท่านั้น เช่น อินทราเน็ตของธนาคารแต่ละแห่ง หรือระบบเครือข่ายมหาดไทย ที่เชื่อมศาลากลางทั่วประเทศ เป็นต้น เป็นการสร้างระบบบริการข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเปิดบริการคล้ายกับอินเทอร์เน็ตเกือบทุกอย่าง แต่ยอมให้เข้าถึงได้เฉพาะคนในองค์กรเท่านั้น เป็นการจำกัดขอบเขตการใช้งาน ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในองค์กร ก็คือ "อินทราเน็ต" นั่นเอง

3. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ตอบ        เช่น       www.yahoo.com ,       www.lycos.com,      www.sanook.com,      www.siamguru.com             https://www.google.co.th        ,       www.excite.com      เป็นต้น

4. จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซด์ Google พร้อมสังเขป

ตอบ        การค้นหาแบบง่าย ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง 2-3 คำลงไปแล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม  Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ 

5. Digital  library  หมายความว่าอย่างไร

ตอบ     Digital Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อพิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุดแบบดั้งเดิม หรือ แม้แต่เพียงจะสามารถมีบทบาทเทียบเคียง กับห้องสมุดแบบดั้งเดิม ที่เป็นเช่นนี้เพราะมีเหตุผลหลายประการ ประการแรก สิ่งพิมพ์ที่มีอยู่แล้วมีเป็นจำนวนมาก หากจะนำมาดิจิไทซ์ (digitize) หรือแปลงเป็นสารสนเทศแบบดิจิทัล ก็ต้องลงทุนลงแรงมหาศาลประการที่สอง ผู้ใช้สารสนเทศส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน ยังคุ้นเคยกับการอ่านหนังสือมากกว่าการอ่านจากจอคอมพิวเตอร์ แต่เรื่องนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการใช้คอมพิวเตอร์มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และพัฒนาการของจอคอมพิวเตอร์ทำให้อ่านได้สบายตามากขึ้น สามารถอ่านได้ครั้งละนานๆ มากขึ้น ประการที่สาม ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ และวิธีการจัดการกับปัญหานี้

6. จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซด์ประเภทของการศึกษา

ตอบ       1 . เว็บไซต์โครงการ    ShoolInet@1509 ( http://www.school.net.th) เป็นเว็บไซด์ชุมทางสำหรับเว็บไซด์ต่างๆที่เป็นสมาชิกโครงการ   ShoolInet และที่เกี่ยวกับการศึกษาระดับต่ำกว่า อุดมศึกษา
               2.  เว็บไซด์  LearnOnline  (http://www.learn.in.th)     ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ( Thailand  Graduate  Institute of Science and Technology TGIST ) เป็นเว็บไซด์สำหรับการเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็




-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่   8


1. ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้  โดยเขียนตามความเข้าใจ
 1.1  การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร    
ตอบ
1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
2. ให้ผู้ชมเข้าเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำมาสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
  1.2  หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ
1.1 การดึงดูดความสนใจ
1.2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
1.3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาเลือกใช้ต่างกันอย่างงไร

ตอบ      การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายใน กรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฎิกริยาจากผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจ
         การพากย์   เหมาะสำหรับเนื้อหาที่ถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม สามารถเลือกใช้ดนตรี หรือเสียงประกอบ

1.4  เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ตอบ       งานที่จะนำเสนอ มีทั้งชนิดที่ ใช้กระแสไฟฟ้าและไม่ใช้กระแสไฟฟ้า
เครื่องพิมพ์ ใช้ในการพิมพ์ข้อความ คำอธิบาย เนื้อหาสาระ
 เครื่องเสียงและเครื่องขยายเสียง ใช้ในการบันทึกเสียงหรือ
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ใช้ เป็นเครื่องมือในการนำเสนอข้อมูลขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ ทำให้ผู้รับสามารถมองเห็นภาพ หรือข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้อใช้ควบคู่กันกับแผ่น(แผ่นพลาสติกใสที่ใช้สำหรับเขียน พิมพ์ ข้อความและหรือพิมพ์ รูปภาพลงไป)

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์นำเสนอ คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถนำมาใช้นำเสนอแทนเครื่องมือดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดีและมี ประสิทธิภาพสูง สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆในหลายรูปแบบ คอมพิวเตอร์ จึงสามารถนำเสนอข้อมูลได้ทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ในการประมวลผล แล้วนำเสนอผ่านอุปกรณ์แสดงผลและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆโดยทั่วไปอุปกรณ์แสดงผล ของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอและพบเห็นกันอยู่ คือ 
-เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีทั้งพิมพ์สีต่างๆ ได้พิมพ์เฉพาะขาวดำ สามารถพิมพ์ข้อความและรูปภาพได้ โดยผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปร่างลักษณะและการทำงานคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์เราสามารถเห็นงาน หรือข้อมูลรูปภาพได้จากหน้าจอ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลากหลายรูปแบบ


1.5  รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

ตอบ        ในปัจจุบันมี 2 รูปแบบดังนี้
            - การนำเสนอแบบ Slide Presentationโดยใช้โปรแกรม Powerpoint  เป็นโปรแกรมนำเสนอผลงานในชุด Microsoft Office เป็นโปรแกรมที่ใช้ง่ายมากมีแม่แบบให้เลือกหลายแบบ องค์ประกอบหลักของแต่ละหน้าของการนำเสนอคือ หัวข้อ
โดยใช้โปรแกรม ProShow Gold
ProShow Gold 2.0 เป็นซอฟต์แวร์สำหรับสร้างแผ่น VCD จากรูปภาพต่าง ๆ ที่ทำงานได้รวดเร็ว หลายคนคงจะมีไฟล์รูปภาพต่าง ๆ เก็บสะสมไว้ และเมื่อต้องการที่จะนำเอาภาพเหล่านั้น มาแปลงให้อยู่ในรูปแบบของแผ่น VCD ที่สามารถนำเอาไปใช้เปิดกับ เครื่องเล่น VCD ทั่วไปได้ ต้องมาลองดูซอฟต์แวร์ตัวนี้ครับ ProShow เป็นซอฟต์แวร์ ที่สามารถนำเอาภาพ มาทำเป็นแผ่น VCD โดยที่สามารถทำการแปลงได้อย่างรวดเร็ว และยังใส่เสียงเพลงประกอบได้ด้วย 
โดยทั่วไปแล้ว ซอฟต์แวร์สำหรับการทำแผ่น VCD จากรูปภาพจะมีหลายตัว แต่ที่แนะนำ ProShow เนื่องจากเหตุผลหลักคือ การใช้เวลาทำการแปลงที่รวดเร็วมาก ปกติถ้าเป็นซอฟต์แวร์ตัวอื่น จะใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่ตัว ProShow นี้ใช้เวลาแปลง ไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จแล้ว ภาพที่ได้ก็จัดอยู่ในคุณภาพดี โดยข้อเสียที่พบในตัวโปรแกรมนี้ คือค่อนข้างจะมีความยุ่งยาก ในขั้นตอนของการใช้งานบ้าง แต่ก็ไม่มากมายอะไรนัก
การเตรียมข้อมูลของภาพและเพลงต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มติดตั้งและใช้งาน 
ก่อนอื่น ก็ต้องทำการหาดาวน์โหลดซอฟต์แวร์นี้มาก่อน โดยสามารถหาได้จาก http://www.photodex.com และหารหัส สำหรับการลงทะเบียนจากเว็บไซต์ทั่วไปกันเองครับ จากนั้น สิ่งต่อไปที่จะต้องมีก็คือ ไฟล์รูปภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นไฟล์ .jpg ก็ได้ และไฟล์ของเพลงที่จะนำมาใส่ประกอบ ซึ่งจะใช้เพลงแบบ MP3 ทั่วไปก็ได้ครับ สุดท้ายก็คือ เครื่องเขียนซีพีหรือ CD-R Writer สำหรับใช้ในการเขียนแผ่น VCD ที่จะได้ เมื่อเตรียมไฟล์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็เริ่มต้น ขั้นตอนการติดตั้งกันได้เลย เริ่มต้นการติดตั้ง โดยการเรียกไฟล์สำหรับติดตั้ง ProShow gold ก่อน



















วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment 3มาด้วย
ให้นักศึกษาเขียนระบบการสอนวิชาใดก็ได้มา  มา1 วิชาในสาขาสังคมศึกษามา 1 ระบบ ตามหลัก IPO
ในแต่ละองค์ประกอบให้นักศึกษาอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบนั้นๆ




วิชา พระพุทธศาสนา




Input
1. ครูหรืออาจารย์ผู้สอน                                                  
2.สื่อมัติมีเดียประกอบการสอน เช่น power point 
3.หนังสือหรือตำราเรียนวิชา พระพุทธศาสนา         
4.เอกสารประกอบการเรียน
5. ตัวผู้เรียน





process     
1.ครูอธิบายหรือบอกจุดประสงค์ในการเรียนการสอน วิชาพระพุทธศาสนา
2.ครูอธิบายหรือบอกผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาพระพุทธศาสนา
3.ครูแนะนำหนังสือแบบเรียนที่จะใช้เรียนและให้นักเรียนเปิดอ่านสารบัญเพื่อทราบเนื้อหาล่วงหน้าว่าจะเรียนอะไรบ้าง นักเรียนจะได้เกิดความสนใจมากขึ้น
4. ครูอธิบายเกณฑ์วัดผล ประเมินผล การเรียนการสอนโดยการแจกเอกสารใบความรู้ให้กับนักเรียนได้อ่านทำความเข้าใจ และมอบหมายงานให้นักเรียน
5.นักเรียนและครู ร่วมกันสนทนา อภิปราย และให้เหตุผลเกี่ยวกับการเรียนเรื่องพระพุทธศาสนา เพื่อที่จะให้นักเรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้ผลการเรียนที่ดีมีประสิทธิภาพ
6. อธิบายการจัดกิจกรรมเสริมระหว่างเรียนเช่น ครูและนักเรียนร่วมกันทำกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆทางศาสนา หรือการจัดกิจกรรมอบรมเข้าค่าย
7.การสอบวัดผลการเรียนรู้







                                                                                                                                                     




Output
1. ผู้เรียนเรียนรู้และรู้จักประวัติของพระพุธศาสนา
2.เข้าใจประวัติความสำคัญและหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา
3.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.ผลการสอบวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
5.การปรับปรุงเนื้อหาวิชาเรียนเพิ่มเติมเพื่อให้ง่ายแก่การทำความเข้าใจ




Receive from 
http://www.google.co.th